เล่าประสบการณ์ เดือนที่ 6 เบื้องหลัง website เช่ารถ มันยากกว่า Website E-Commerce หลายเท่า

ระบบ E-Commerce กับระบบรถเช่า

ระบบ E-Commerce กับระบบรถเช่า

  ในประสบการณ์หลายปีที่ผ่านมา ผมมานั่งทบทวนตัวเองที่เคย ไปรับ Requirement ที่ผ่านมา ในการทำ Website  Style E-Commerce  หลากหลายรูปแบบ ซึ่งคิดว่ามันยากแล้ว   แต่หลังจากมาทำงานในองค์กร Thai Rent A Car  มาเจอ Website เช่ารถนั้น ไอ้ที่เจอมาว่ายาก เจอ Website นี้ มันยากกว่าหลายเท่า ทำไมมันถึงยากกว่าเหรอ ? เพราะอะไร ?

E-commerce โดยทั่วไป ประมาณนี้
E-commerce โดยทั่วไป ประมาณนี้

ประสบการณ์ที่เจอมาจาก Website โดยทั่วไป  โดยทั่วไปของ E-Commerce ก็จะมีประมาณนี้ ถึงแม้ว่าจะต่อเชื่อมกับ ระบบ API (Application Program Interface) ก็หนีไม่พ้นประมาณนี้

1. [Catalog] หมวดหมู่ของสินค้า

1.1.  [ID] รหัสสินค้า  1.2  [Product]  ประเภทสินค้า   1.3. [ Name Product] ชื่อสินค้า  1.4. [Description] รายละเอียดสินค้า

2. [Price]  ราคาสินค้า

2.1. [Price Detail] ราคาสินค้า

3. [Promotions]

3.1. Promotions เท่าที่เคยทำมา [discount %] ส่วนลด ซื้อ 1 แถม 1  ส่วนลดเงินสด  อื่น ๆ

4. [Customer] ประเภทลูกค้า

4.1 Customer ที่เคยทำมาจะแบ่งเป็น Type หรือ ประเภทของลูกค้า VIP / Website/ Onsite / Customer / Corparate

5. ระบบสั่งซื้อ  Order / Payment ที่เคยทำมา คำนวณราคา สินค้าต่อชิ้น ของแถม แล้วก็ทำการจ่ายชำระเงิน

6. Report ระบบรายงาน แยกประเภทตามการใช้งาน จะ import หรือ Export นั้น ก็ไม่น่าจะมีปัญหา

 

ระบบจองรถยนต์มันเป็นอะไรที่ซับซ้อนมาก
ระบบจองรถยนต์มันเป็นอะไรที่ซับซ้อนมาก

เบื้องหลัง UI ที่ง่าย แต่ซับซ้อนระบบมาก แทบปวดหัว Programmer คนไหนไม่เก่ง OOP (Object Oriented Programming) อาจจะต้องถอยไปเลย

1. Catalog หมวดหมู่สินค้า / Product (รถยนต์) มันก็เหมือนกัน ไม่ใช่เหรอ ตอบว่าใช่ครับ ? 

หลักสากลของการเช่ารถ มี รถเล็ก SS กำหนดตามเครื่องยนต์ CC เช่น Misubishi Mirage / Honda Brio / Nissan March อยู่ในหมวดเดียวกัน รถใหญ่ CC ใหญ่ขึ้นก็ต้องจัดหมวดหมู่ให้มัน ตรงตาม Catalog ของ Group ( SS, S , L ,XL)

ระบบราคาที่หลากหลายที่สุดเท่าที่เจอมา
ระบบราคาที่หลากหลายที่สุดเท่าที่เจอมา

2. Price (ราคาเช่ารถ)  มันยากตรงนี้หละครับ  

   2.1. ราคาเช่ารถ มันถูกกำหนด ด้วยอะไรบ้าง ?

             ราคาเช่ารถกำหนด ไว้  1 – 7  วัน ตาม Group (SS , S , L, XL ) มีกำหนดราคาสูงสุด เช่น เช่ารถวัน ใน 1- 7 วัน ราคา  1,100 บาท ถ้า 8 – 15 วันขึ้นไป ราคา 1,000 บาท ถ้า 30 วันหรือ Monthly นั้นราคากำหนด เป็นเดือน xxx บาท (ความยากระดับแรก) (Set up เปลียนแปลงได้ตลอด)

2.2.  ราคาเช่ารถต่อวันคิดอย่างไร คือ ใช้เวลา 24 ชม. คิดตั้งแต่เอารถออก เวลา 0.00 + 24 ชม. ฟรีได้ 30 นาที คืนรถเกินกว่านั้นคิดเพิ่ม 1 วัน (ยากที่ 2) 

2.3.  เสาร์ อาทิตย์ วันหยุด ณ ขัตฤกติ์ บวกเพิ่ม  107 บาท จะคิดหรือไม่คิดก็ได้
2.4.  คืนรถต่างสาขา คิดเพิ่ม ต่อวัน  =  บาท   เกิน 5 วัน ฟรี (Set up เปลียนแปลงได้ตลอด)
2.5 . Accessory เช่น GPS / ค่าประกัน SLDW / Baby Seate คิดจำนวน วัน  xx บาท สูงสุด ไม่เกิน กี่วันคิดเป็น เป็นราคา เหมา (Set up เปลียนแปลงได้ตลอด)
2.6. ส่งรถนอกพื้นที่ คิดค่าบริการ (Set up เปลียนแปลงได้ตลอด)

3. Promotions นี่ไม่ต้องพูดถึง เรื่องความหลายหลายของตัว Code ใส่ code นี้แล้ว จะได้ส่วนลด ราคา (บาท) discount % หรือ อื่น ๆ

4. Customer + Report ความซ้ำซ้อนของระบบ มีไม่มากเท่าไหร่ แค่ การเก็บข้อมูลธรรมดา แต่ปีหน้าจะทำให้ไม่ธรรมดา มันคือความยากในระดับต่อไป

เอาเป็นว่ามาสรุปเบื้องต้น สำหรับประสบการณ์ 6 เดือนที่ผ่าน ซึ่งต่อไปนี้จะได้เห็นทุกอย่างมัน ไป Flow ของมันคือการจองรถ แล้วตัดเงินผ่านบัตรเครดิตได้ทันที ผมมีหน้าที่ ดู Report และ ระบบการทำงานว่ามันจะไปตาม Flow ที่วางไว้หรือไม่

Webmaster
Anantachai Ittiworapong

 

 

 

 

Comments

comments

Leave a Comment

*

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.