สิทธิของผู้บริจาคโลหิตมีอะไรบ้าง

สิทธิของผู้บริจาคโลหิต
สิทธิของผู้บริจาคโลหิต

เป็นครั้งที่ 16 ในการบริจาคเลือด ให้กับสภากาชาดไทย เป็นการทำบุญต่อชีวิต ให้ชีวิต พอดีอยากรู้ว่า สิทธิของผู้บริจาคเลือดนั้น ได้ประโยชน์อะไรบ้าง ? เพราะเลือดของสภากาชาดไทย สู่การหมุนเวียนของโรงพยาบาล รัฐบาลและเอกชนในการักษาชีวิตคนไข้ แต่ ดูแล้วมันน่าเศร้าใจจริง ๆ

http://www.redcross.or.th/forum/12206

 

เรียนท่านผู้บริจาคโลหิต

ขอเรียนชี้แจงให้ทราบ ถึงรายละเอียดสิทธิในการักษาพยาบาลของผู้บริจาคโลหิต ที่ศูนย์บริการโลหิต ฯ ได้ให้การช่วยเหลือ จะเป็นไปตามระเบียบของกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งเป็นการช่วยเหลือเฉพาะตัวผู้บริจาคโลหิตเท่านั้น มีดังนี้

ผู้บริจาคโลหิต 7 ครั้งขึ้นไป เป็นผู้ป่วยใน ของโรงพยาบาลสังกัดสภากาชาดไทย ได้แก่ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ และโรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา เสียค่ารักษาพยาบาลประเภทผู้ป่วยสามัญ ถ้าอยู่ห้องพิเศษ ผ่าตัด ผ่าตัดคลอดบุตร จะเสียเพียงกึ่งหนึ่งของอัตราที่กำหนด

ผู้บริจาคโลหิต 24 ครั้งขึ้นไป เป็นผู้ป่วยใน ของโรงพยาบาลสังกัดสภากาชาดไทย ได้แก่ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ และโรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา ได้รับการยกเว้นเฉพาะค่ารักษาพยาบาลประเภทผู้ป่วยสามัญ ถ้าอยู่ห้องพิเศษ ผ่าตัด ผ่าตัดคลอดบุตร จะเสียเพียง ร้อยละ 50 ของอัตราที่กำหนด

ผู้บริจาคโลหิตตั้งแต่ 18 ครั้งขึ้นไป อาศัยอำนาจจากกระทรวงสาธารณสุข ตามความในประเภท ข. ที่มีหนังสือรับรองจากสภากาชาดไทยว่าได้บริจาคโลหิตตั้งแต่ 18 ครั้งขึ้นไป ได้รับการช่วยเหลือค่ารักษาพยาบาล และถ้าอยู่ห้องพิเศษ ได้รับความช่วยเหลือค่าห้องและค่าอาหารเพียงร้อยละ 50 ของอัตราที่กำหนดไว้

ผู้บริจาคโลหิตตั้งแต่ 7 ครั้งขึ้นไป อาศัยอำนาจจากกระทรวงสาธารณสุข ตามความในประเภท ค. ที่มีหนังสือรับรองจากสภากาชาดไทยว่าได้บริจาคโลหิตตั้งแต่ 7 ครั้งขึ้นไป ได้รับการช่วยเหลือเฉพาะค่าห้องพิเศษและค่าอาหารพิเศษไม่เกินสิทธิอันพึงเบิกได้จากหน่วยงานต้นสังกัดก่อน ส่วนที่เกินสิทธิให้เรียกเก็บเพียงร้อยละ 50 สำหรับผู้ไม่มีสิทธิ ได้รับความช่วยเหลือเพียงร้อยละ 50 ของอัตราที่กำหนดไว้

สิทธินี้จะใช้ได้เฉพาะผู้ที่ไม่มีสิทธิอย่างอื่น เช่น ประกันสังคม หรือข้าราชการ และจะใช้ได้เฉพาะผู้ป่วยใน เมื่อได้ห้องเข้าพักรักษาตัวที่โรงพยาบาลแล้ว

โดยให้ญาตินำบัตรประจำตัวของผู้บริจาคโลหิต ขอหนังสือรับรองผู้บริจาคโลหิตได้ที่ ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย ถนนอังรีดูนังต์ เพื่อนำไปลดหย่อนการรักษาพยาบาลเป็นครั้งๆไป
สอบถามเพิ่มเติม โทร. 0 2263 ยา9600 ต่อ 1813

 

บริการตรวจสารเคมีในโลหิต

ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย มีบริการตรวจพิเศษฟรีสำหรับผู้มีจิตศรัทธา ที่บริจาคโลหิตให้แก่ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ อย่างสม่ำเสมอ ด้วยการตรวจสารเคมีในโลหิต ปีละ 1 ครั้ง เช่น ตรวจหาน้ำตาล และไขมันในโลหิต ตรวจตสภาวะการทำงานของตับและไต เป็นต้น

ทั้งนี้ผู้ที่มีความประสงค์จะตรวจต้องติดต่อ ที่ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย ถ.อังรีดูนังต์ และแจ้งความจำนงที่แพทย์ผู้ตรวจวัดความดันก่อนการบริจาคโลหิต ในวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 08.00-10.00 น.ยกเว้นวันหยุดราชการ โดยต้องงดอาหารและน้ำหลังเที่ยงคืนมาก่อน

สอบถามเพิ่มเติม 02 263 9600-99 ต่อ 1150-1152

 

ที่อยากจะถาม 

ถ้าเลือดมีการหมุนเวียนสู่โรงพยาบาลเอกชน ด้วย แต่โรงพยาบาลเอกชนรักษาคนไข้ แล้วบอกว่า เลือดได้รับการบริจาคมาจาก สภากาชาดไทย ไม่ได้เก็บค่าใช้จ่ายส่วนนี้  (อย่าลืมนะครับ ว่าเลือดของผู้บริจาคถึงแม้ เข้าสภากาชาดไทย) แล้วส่งต่อมาในโรงพยาบาลเอกชนในการต่อชีวิตคนไข้ มันมีมากกว่าเลือดที่บริจาค แฝงอยู่ ค่าห้อง (อันแสนแพง) ค่าหมอ (วิชาชีพ อันสูง) ค่ายา ค่านู่นค่านี่  น่าจะให้สิทธิในการรักษาที่พิเศษ กับผู้ที่บริจาคเลือดด้วยไม่ใช่ โยนไปแค่ 2  โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ และโรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา  

อนาคตต่อไปการที่ผู้บริจาคเลือด เอาบุญในจิตใจนำหน้า เพื่อต่อชีวิต ถ้ากลับมาคำนึงถึงผลประโยชน์  เลือดเราฟรี เอาไปรักษาคนรวยในโรงพยาบาลเอกชน โดยเราไม่ได้สิทธิอะไรเลย จะไปบริจาคทำไม ? จะแย่เอา

เพิ่มเติมคุณสมบัติของผู้บริจาคเลือด

1.ผู้บริจาคเลือด อายุระหว่าง 18-60 ปี

2.สุขภาพสมบูรณ์พร้อมที่จะบริจาคเลือด มีน้ำหนัก 50 กิโลกรัมขึ้นไป

3.ผู้บริจาคเลือดไม่มีประวัติเป็นโรคหรือเป็นพาหะของไวรัสตับอักเสบบี ซี ดีซ่าน ตัวเหลือง ตาเหลือง หรือผู้บริจาคเลือด ใกล้ชิดบุคคลดังกล่าว

4.ผู้บริจาคเลือดไม่มีประวัติเป็นข้มาลาเรียในระยะ 3 ปีที่ผ่านมา หรือเข้าไปในเขตที่มีมาลาเรียชุกชมใน 1 ปี

5.ผู้บริจาคเลือดไม่เป็นกามโรค โรคติดเชื้อต่างๆ ไอเรื้อรัง ไอมีโลหิต, โลหิตออกง่ายผิดปกติ, โรคเลือดชนิคต่างๆ, โรคหอบหืด, โรคไต, โรคเบาหวาน และโรคไทรอยด์

6.ผู้บริจาคเลือดไม่มีพฤติกรรมเสื่ยงทางเพศ หรือสำส่อนทางเพศสัมพันธ์

7.ผู้บริจาคเลือดไม่มีประวัติใช้ยาเสพติดชนิดฉีดหรือมีเพศสัมพันธ์กับบุคคลดังกล่าว

8.ผู้บริจาคเลือดไม่มีประวัติผ่าตัดใหญ่, คลอดบุตรหรือแท้งบุตรในระยะ 6 เดือน (ถ้ามีการใช้เลือดต้องงดบริจาค 1 ปี)

9.ผู้บริจาคเลือดสุภาพสตรีไม่อยู่ในระหว่างมีประจำเดือน หรือตั้งครรภ์

บุคคลต่อไปนี้ให้งดบริจาคโลหิต ได้แก่ ผู้ติดเชื้อเอดส์ และผู้ที่มีคู่นอนหลายคนหรือมีเพศสัมพันธ์กับผู้อื่นนอกจากคู่ของตน

การเตรียมตัวก่อนการบริจาคโลหิต

1.ควรนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพออย่างน้อย 6 ชั่วโมง

2.มีสุขภาพสมบูรณ์ไม่เป็นหวัด เจ็บคอ

3.ควรรับประทานอาหารมาก่อน และเป็นอาหารย่อยง่าย ไม่มีไขมัน

4.งดเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ก่อนมาบริจาคอย่างน้อย 12 ชั่วโมง

5.งดสูบบุหรี่ก่อนและหลังบริจาคโลหิต 1 ชั่วโมงเพื่อให้ปอดฟอกโลหิตได้ดี

6.นำบัตรประชาชนมาติดต่อบริจาคโลหิตทุกครั้ง

การงดบริจาคโลหิตชั่วคราว

1.ถ้าใช้ยาแก้อักเสบต้องงดบริจาคโลหิต 7 วัน เพราะการที่ผู้บริจาคโลหิตได้รับยาแก้อักเสบ หรือยาปฏิชีวนะ หมายถึงผู้บริจาคมีการติดเชื้ออยู่ ซึ่งอาจแพร่เชื้อเข้ากระแสโลหิตส่งมาถึงผู้ป่วยได้ นอกจากนี้ผู้ป่วยที่ได้รับโลหิต อาจมีอาการแพ้ยาแก้อักเสบ หรือยาปฏิชีวนะบางชนิดได้เช่นกัน

2.การใช้ยาแก้ปวดกล้ามเนื้อหรือยาคลายกล้ามเนื้อ ยาแอสไพริน และยาแก้ปวดข้อให้งดบริจาคโลหิตอย่างน้อย 3 วัน เพราะยาที่ใช้อาจมีผลทำให้ยาไปยับยั้งการเกาะตัวของเกล็ดโลหิต ทำให้โลหิตแข็งตัวช้า โลหิตไหลแล้วหยุดยาก

3.ยารักษาสิวต้องงดบริจาค 1 เดือน

Comments

comments

Leave a Comment

*

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.