Credit เงินปันผลจากการลงทุนในหุ้น สำหรับยื่น ภงด 90

ภงด 90 กรณีมีเงินเดือนและ รายได้จากเงินปันผล
ภงด 90 กรณีมีเงินเดือนและ รายได้จากเงินปันผล

Edit แก้ไข จากที่เคยเขียนมา กลับมาอ่านเองอีกที เออ เขียน ยากไป  เอาใหม่

สำหรับ มนุษย์เงินเดือนที่ได้รับค่าจ้างรายเดือน แล้วมีการลงทุนในหุ้น แบบระยะยาว หรือสั้น แต่ในรอบการจ่ายเงินปันผล หุ้นเรายังไม่ได้ขาย แล้วได้เงินปันผลมาจะมีกระดาษสีเหลืองของศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ส่งมาตามบ้าน เอกสารนั้นแหละ คือ เอกสารการประกอบในการยื่นภาษี แบบ ภงด 90 เพราะเป็นรายได้อื่น ๆ ที่มีเงินปันผลเข้ามาเกี่ยวข้อง

ไอ้ Credit เงินปันผลนี่แหละ คือสิ่งที่วิเศษที่สุดเวลาคำนวณแล้ว ได้คืนมาไม่น้อยเลยนะ

Credit เงินปันผลจากภาษี คือ เวลาเราได้เงินปันผลมา เช่น ปันผลหุ้นละ 1 บาท  มีหุ้นอยู่ 50,000 หุ้น ได้ = 50,000  บาท แต่ เอ๊ะ เราน่าจะได้ 5 หมื่นบาทไม่ใช่เหรือ ทำไม มีเงินเข้ามาแค่ ประมาณ 31,500 บาทเอง เหตุผล เพราะโดนภาษี ไป 30% และ ภาษี ณ ที่จ่ายอีก 10 % ทำให้เราได้รับเงินปันผล ไม่ครบ 5 หมื่นบาท เงินหายไปเกือบ 18,500 บาท (เงินก้อนนี่แหละ คือสิ่งที่เราต้องไปคิดตอนคืนภาษี)

ภาษีที่โดนเรียกเก็บจากเงินปันผลซ้ำซ้อน

หากจะอธิบายง่าย ๆ เกี่ยวกับเรื่องนี้ ก็คือ มีการเสียภาษีซ้ำซ้อนเนื่องจาก บริษัทจดทะเบียนที่มีกำไรได้ชำระภาษีนิติบุคคลแล้ว ขณะที่ผู้ลงทุนนั้นนำเงินปันผลมาคำนวณเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาอีกครั้ง หนึ่ง ทางการจึงอนุญาตให้นักลงทุนประเภทบุคคลธรรมดามีสิทธิเลือกที่จะนำเงินปันผล นั้นมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีปลายปีเพื่อขอเครดิตภาษีปันผล ทั้งนี้นักลงทุนที่มีฐานภาษีอยู่ในเกณฑ์ที่ต่ำจะยิ่งได้ประโยชน์มากขึ้น การขอเครดิตภาษีเงินปันผลนี้จะเป็นประโยชน์มากสำหรับผู้สูงอายุที่ไม่มีราย ได้ประจำหรือวัยหลังเกษียณเนื่องจากไม่มีฐานภาษีดังตัวอย่างข้างต้น

สำหรับ สรรพากรที่กำหนดไว้ 

ใน ภงด 90 กับ ภงด 91 ตรงที่ ภงด 91 นั้นเป็นรายได้ประจำทางเดียว โดยไม่มีรายได้อื่น ๆ แต่ ภงด 90 นั้นเป็นรายได้ที่นอกจากเงินเดือน ซึ่งก็คือดังนี้

มาตรา 40 ทวิ 1 ก็คือเงินเดือนค่าจ้าง ค่าแรงที่เขาจ่ายให้เราเป็นเดือน ๆ
มาตรา 40 ทวิ 2 ก็คือ เงินได้ที่เกิดจากการรับทำงานให้ ซึ่งเป็นงานที่ทำชั่วคราว หรือ ประจำก็ได้สุดแล้วแต่ (แต่ถ้าออกจากงานมันจะเป็นมาตราทวิ 2) ซึ่งรายละเอียดในการกรอกมันก็คือ กรอกช่องแรก ๆ ใน ภงด 90 และ ภงด 91 นั้นแหละ (เพราะถ้าเข้าระบบเงินเดือนน่าจะโดนตายตัว)

ผมให้ความสำคัญกับ มาตรา 40 ทวิ 4 มากกว่า

1. ดอกเบี้ย พันธบัตร เงินฝาก หุ้นกู้ หลายคนเวลาเห็นดอกเบี้ยสูงตามธนาคารทั่วไป ว่า 2.5% ในเวลา 6 เดือนก็จะรีบฝากครบกำหนด up book แล้วก็เลยตามเลย แต่รู้หรือไม่ว่าใน ดอกเบี้ยที่เราได้รับนั้น มันโดนหักภาษีในตัวดอกเบี้ยไปอีก 15%  ทุกครั้งที่ครบกำหนดควรจะขอหนังสือ มาตรา 50 ทวิ จากทางธนาคาร
2. เงินปันผล หรือที่ได้จากส่วนแบ่งของกำไร กรณีลงทุนในกองทุนรวม อันนี้ผมไม่มีเพราะเล่นเองเลยในตลาดหลักทรัพย์
3. เงินปันผล เงินส่วนแบ่งของกำไรหรือประโยชน์ที่ได้จาก หจก . หรือ บจ ที่จดทะเบียนในต่างประเทศ
4. เงินปันผลที่ลงทุนในหุ้นบ้านเรา แล้วได้รับเงินปันผล หน้าตาเป็นแบบนี้แหละ

 

ในมาตรา 40 (4) ข แบ่งออกมาเป็นรายละเอียดดังนี้
1. กรณีได้รับเงินปันผลที่ได้รับ เครดิตภาษี โดยจ่ายจากกำไรสุทธิ
1.1. อัตราร้อยละ 30 % ของกำไรสุทธิ
1.2. อัตราร้อยละ 25%  ของกำไรสุทธิ
1.3. อัตราร้อยละ 20 % ของกำไรสุทธิ

ต่อไปก็มาดูสูตร ว่า เราต้องเอาไปเครดิตภาษี 

ตารางเงินปันผลที่เครดิตภาษี ดังนี 

vat1

ผมมาคำนวณตัวเลขเลยดีกว่า เดี๋ยวงง

1. เงินปันผลเมื่อรวมตัวเลขที่ เสียในอัตราร้อยละ  25 % ของกำไรสุทธิ ของผมรวมกันหลาย ๆ ใบ เท่ากับ 1,902.22  บาท (ซื้อหุ้นหลายตัว)

2. เงินปันผลเมื่อรวมตัวเลข ที่เสีย ในอัตราร้อยละ 30%  ของกำไรสุทธิ ของผมรวมกันหลาย ๆ ใบ เท่ากับ    680 บาท (ซื้อหุ้นหลายตัว บอกไม่ได้)

3. อัตราร้อยละ 20 % ของกำไรสุทธิ   อันนี้ไม่มี เลยแม้แต่บริษัท ฯ เดียว

หมายเหตุ ในช่อง เงินปันผล ที่ไม่สามารถขอ Credit ภาษีคืนได้ ไม่ต้องเอามาคำนวณนะครับ

เครดิตเงินภาษีคืน
เครดิตเงินภาษีคืน

 


จำนวนเงิน 2,193.65 บาท คือ ยอด Credit ภาษีที่จะขอคืน ว่า เงินปันผลเรา ควรจะได้รับ แต่ สรรพกรยึดไป ถ้าคนส่วนใหญ่ทำงาน แล้ว ทาง HR ได้หักนำส่งสรรพากร แล้ว เวลาคำนวณ แบบไม่มีลดหย่อน มักจะพอดี เป๊ะเลย เราไม่ต้องเสียในปีนี้ แต่ยอดนี้คือยอดที่เราจะได้คืนในภาษีครับ

ขออภัยสำหรับก่อนหน้านั้นเขียนเข้าใจยากไปหน่อย

 

Webmaster

Anantachai

 

*************************************************************************************************************************

 

 




 

 

Comments

comments

Leave a Comment

*

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.