เทคนิคการสร้างความสุขในการทํางานด้วยการบริหารตนเอง (Copy เขามา)

สุขในตัวเรา
สุขในตัวเรา

 

1. “อย่า” คิดเล็กคิดน้อย” กับเรื่องเล็กน้อย

คุณอย่าเก็บเอาเรื่องต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันมาคิดซะทุกเรื่อง พยายามอย่าเอาคำพูด หรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในแต่ละวันมาเป็นอารมณ์ ให้คิดเสียว่ามันผ่านมาแล้วก็ผ่านไปหากคุณมัวแต่เอาเวลามาคิดว่า วันนี้นายมาต่อว่าคุณทำงานแย่มาก ลูกค้าบ่นว่าคุณพูดจาไม่สุภาพ เพื่อนร่วมงานชอบพูดจาเสียดสีคุณ ย่อมแน่นอนว่าคุณจะไม่มีเวลาในการคิดพัฒนางานของคุณเลยคุณควรจะ “คิดใหญ่ ไม่คิดเล็ก” โดยฝึกคิดแต่สิ่งที่จะทำให้คุณประสบความสำเร็จและได้รับการยอมรับ ในหน้าที่การงานจากสังคมหรือคนรอบข้างตัวคุณ ดังนั้นคุณควรใช้เวลาในแต่ละวันกับการคิดถึงเป้าหมายของคุณและคุณจะทำอย่างไรเพื่อให้คุณเดินทางไปสู่เป้าหมายที่ตั้งไว้จะดีกว่า และความคิดเหล่านี้เองมันจะส่งผลให้คุณมีความกระตือรือร้นในการทำงาน สนุกกับสิ่งที่คุณทำ
อยู่ตลอดเวลา

2. “อย่า” ต่อว่าองค์กร

มีหลายต่อหลายคนที่มีความรู้สึกไม่รักในองค์กรที่กำลังทำงานอยู่ คุณไม่มีความรู้สึกผูกพันกับองค์กร และมีความรู้สึกว่า “ทนอยู่” เพื่อรอรับเงินเดือนเมื่อครบสิ้นเดือนเท่านั้น คุณมักจะต่อว่าหรือพูดถึงองค์กรของคุณในทางที่ไม่ดี คุณอย่าลืมว่าคุณเองเลือกที่จะทำงานอยู่ในองค์กรแห่งนี้ซึ่งอาจถือได้ว่าเป็น บ้านที่สองของคุณ โดยคุณต้องใช้เวลาอยู่ในบ้างที่สองแห่งนี้อาจมากกว่าเวลาที่คุณอยู่ในบ้านของคุณเสียอีก และเพราะคุณเลือกที่จะทำงานในองค์กรนี้ แล้วทำไมคุณไม่เลือกที่จะรักในองค์กรที่คุณกำลังใช้ชีวิตร่วมด้วย คุณอย่าบอกว่าทนทำงานอยู่ในองค์กรนั้น ๆ เพราะว่าคุณไม่มีที่ไป ดังนั้นขอให้คุณย้อนคิดไปว่าไม่มีองค์กรไหนที่เห็นความสำคัญของตัวคุณ นอกจากองค์กรที่คุณกำลังทำงานอยู่ เพราะเค้ารับคุณและยอมให้คุณมาร่วมงานด้วยซึ่งเค้าเห็นศักยภาพและความสามารถของตัวคุณเององค์กรของคุณให้โอกาสคุณ ซึ่งไม่เหมือนกับองค์กรอื่น ๆ ที่ปฏิเสธและไม่ยอมรับคุณ คิดเพียงเท่านี้ คุณจะมีความรู้สึกดี ๆ กับองค์กรของคุณ

3. “อย่า” เลือกทำงานที่รัก

หากคุณเป็นผู้หนึ่งที่ไม่สามารถเลือกทำงานที่ตนเองรักได้ ขอให้คุณเลือกที่จะรักงานที่คุณทำ และเพื่อให้คุณมีความสุขและรู้สึกสนุกกับงานที่คุณกำลังทำอยู่ ขอให้คุณพิจารณาในสิ่งต่อไปนี้
1). งานที่คุณกำลังทำคืออะไร
2). ประโยชน์อะไรที่คุณได้จากการทำงานนั้น ๆ
3). คุณมีวิธีในการพัฒนาปรับปรุงงานของคุณอย่างไร
4). คุณต้องปรับปรุงศักยภาพหรือความสามารถในด้านใดบ้าง
5). คุณจะหาวิธีการในการเรียนรู้งานใหม่ ๆ ได้อย่างไร
6). งานที่ทำอยู่มีอะไรบ้างที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์กับเป้าหมายของคุณในอนาคต

ขอให้คุณใช้เวลาในการคิดและหาคำตอบจากคำถามเหล่านี้ แล้วคุณจะพบ “คุณค่า (Value)” ที่เกิดขึ้นในตัวคุณ ซึ่งคุณค่าต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในตัวคุณนี้เองจะทำให้คุณทำงานอย่างมีความสุขมีความตื่นตัวและกระตือรือร้นในการทำงานอยู่เสมอ มีความพร้อมที่จะพัฒนาตนเอง และการทำงานให้ดีขึ้น และพร้อมที่จะเรียนรู้งานใหม่ ๆ อยู่ตลอดเวลา

4. “อย่า” ให้ร้ายหัวหน้างาน

หัวหน้างานมีหลายประเภท หลากหลายรูปแบบ หัวหน้าเจ้าอารมณ์ หัวหน้าสั่งอย่างเดียว หัวหน้าชอบคนประจบ…หัวหน้าที่วันวันทำแต่งาน ซึ่งในชีวิตของการทำงานคุณคงจะเลือกทำงานกับหัวหน้างานในแบบฉบับที่คุณชอบไม่ได้อย่างแน่นอน คุณมักจะพบเจอกับหัวหน้างานหลากหลายประเภทที่อาจทำให้คุณกุมขมับอยู่ทุกวัน นั่นอาจเป็นเพราะคุณเข้ากับหัวหน้าของคุณไม่ได้ หรือคุณมีความรู้สึกว่า หัวหน้างานของคุณน่าจะทำอย่างโน้นอย่างนี้ มีหลากหลายประเภทที่คุณจะพบเจอในองค์กรของคุณเองซึ่งเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่ทางที่ดีที่สุดก็คือคุณควรเข้าใจในเหตุผลของความคิดและการกระทำของ หัวหน้างานของคุณเอง คุณควรเคารพและให้เกียรติหัวหน้าคุณ คอยสนับสนุนและช่วยเหลือหัวหน้าคุณเท่าที่จะทำได้

5. “อย่า” ดูถูกเพื่อนร่วมงาน หรือคนรอบข้าง

ไม่มีใครที่จะประสบความสำเร็จในการทำงานโดยลำพัง แน่นอนว่าความสำเร็จย่อมเกิดขึ้นจากความร่วมมือของบุคคลรอบข้างตัวคุณ ไม่ว่าจะเป็นความร่วมมือในด้านการให้ข้อมูลข่าวสารต่างๆ การให้ความช่วยเหลือในด้านอื่น ๆ ซึ่งคุณควรมองคนที่คุณค่าของเค้า อย่าดูถูกความคิดหรือ ความสามารถของคนอื่น ทุกคนมีความทักษะและความชำนาญในงานที่แตกต่างกัน คุณทำงานของคุณได้ แต่คุณอาจไม่สามารถทำงานของคนอื่นได้ เช่น คุณสามารถทำงานบัญชีได้ แต่คุณอาจไม่สามารถทำงานคอมพิวเตอร์ได้ เป็นต้น ดังนั้นคุณควรให้เกียรติเพื่อนร่วมงานหรือคนรอบข้างคุณที่คุณต้อง ประสานงานหรือติดต่อด้วย พยายามอย่าเอาการศึกษามาวัดที่ค่าของคนหรือความสามารถของคน

ดังนั้นหากคุณมีความคิดที่ดีและการกระทำแต่สิ่งที่ดีต่อองค์กร หัวหน้างาน เพื่อนร่วมงาน/คนรอบข้าง และตัวงานของคุณเอง…เพียงเท่านี้…คุณเองย่อมจะมีความสุขและสนุกกับชีวิตในการทำงานของคุณ

 

เห็นว่ามีประโยชน์เลย copy เขามาไว้อ่าน ยามเวลาโมโห

Webmaster

Anantachai

Comments

comments

Leave a Comment

*

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.