the pursult of happyness

ง่ายในการใช้ชีวิตยามท้อ หาจุดเปลี่ยนตัวเองด้วยหนังสร้างกำลังใจ

the pursult of happyness
the pursult of happyness

เชื่อดิในวัยกลางคน 40 ++ ขึ้นไป คือมันใช้ชีวิตผ่านมาเกือบครึ่งชีวิตแล้ว ถามตัวเองทุกวัน คำว่าประสบความสำเร็จ มันคืออะไร?  สำหรับตัวเรา แค่ ครอบครัว เรากับภรรยาและ แมวอีก 5 ตัว รวมถึงสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงก็ถือว่าความสุขเรา = ประสบความสำเร็จไปแล้วส่วนนึง 50 % แต่อีก 50 % ของชีวิต มันเกี่ยวข้องกับงานที่ต้องหาเลี้ยงให้กับชีวิตและครอบครัว สำหรับงานที่ทำลูกจ้างในวันนี้กับ 20 ปีที่ผ่านมาอารมย์ไม่ต่างกันเพียงแต่เปลียนบทบาท ตัวละคร จากองค์กรหนึ่ง สู่อีกองค์กรหนึ่ง อยู่กับความไม่แน่นอนจนชิน  แต่ในวัย 40++ ขึ้นไป จะต่างจากวัย 30++ คือ ถ้าออกจากงานแล้ว การไปสมัครงานในวัย 40++ ความน่าจะเป็น จะเหลือ เท่ากับ 20 : แข่งขันกับเด็กหรือคนจบใหม่ / มีประสบการณ์ 80 % (ความเครียด / กลัว / ความไม่แน่นอนมันมีทุกวัน)

ถามว่าอารมย์นี้ในวัยประมาณนี้เป็นทุกคนไหมคิดว่า เอาตัวเองเป็น Benchmark เลยแล้วกัน คิดบ่อยเกือบทุกวัน จนบางวันก็เครียด / กินข้าวได้น้อย นอนได้น้อยลง / ออกกำลังกายได้น้อยลง เพราะปล่อยวางยังไม่เป็น พอดีได้ไปดูหน้งเรื่อง the pursult of happyness เรื่องราวการต่อสู้ชีวิต ที่ทำเพื่อคนอื่น (ลูก)ของเขาเอง ในยามที่ พระเอก (Will Smith) รับบทคนสู้ชีวิตที่ไม่มีบ้านอยู่ ต้องดิ้นรน เพื่อความอยู่รอดในการเป็นพนักงานฝึกงานที่ไม่มีเงินเดือนใน 6 เดือน ซึ่งหลังจากฝึกงาน 6 เดือนแล้วสอบถ้าไม่ได้ ผลงานที่ฝึกมาก็ไม่ได้ การันตีว่า จะไปทำงานที่อื่นได้ การนั่งดูไป แล้วก็ อิน กับ คำพูด ที่พอจะจับใจความได้

 

ถ้าคิดฝัน หรือ อยากจะทำหรืออยากจะเป็นอะไร เราต้องทำมันให้ได้

หลังจากดูเรื่องนี้แล้ว 

รู้สึกเหมือนมีอะไรมาทุบ ความคิด เพราะ หนังเรื่องนี้สร้างจากเรื่องจริง ก็เลยมามองตัวเอง โชคดีกว่าเขาเยอะมาก มีบ้านให้อยู่ มีงานให้ทำ เพียงแต่ ว่ายังดิ้นรนไม่พอ ก็เลยกลับมาปลุกตัวเองใหม่ สำหรับ 50 % ของชีวิตที่ยังไม่ประสบความสำเร็จ ด้วยการตั้งเป้าหมายใหม่ (แต่ยังไปบอกในที่สาธารณะ ไม่ได้) คิดว่าเราคงรู้สึกแล้วหละ ว่าจะทำอะไรต่อไป

การเขียน Blog เล่าเรื่องในช่วงปีหลัง แทบจะไม่ได้เขียนอะไรเป็นเรื่องเป็นราว รู้สึกความคิดในหัวมัน ติด ๆ ดับ  ๆ ตลอด คงต้องปรับตัวสักระยะแล้วกลับมาเขียน Blog ใหม่อีกครั้ง

Webmaster

Anantachai ittiworopong

Comments

comments

Leave a Comment

*

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.